วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์





ฮาร์แวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานที่สามารถจับได้ฮาร์แวร์ทางคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices)  หน่วยประมวลผล (Processor) และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output devices)





1.อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์

1.1 เมาส์ (Mouse) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานในคอมพิวเตอร์ชื้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้โดนภายในด้านในของเมาส์จะมีอุปกรณ์ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อนแสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์

แบ่งออกได้ 3 ประเภทได้แก่
  • แบบทางกล (Mechanical)
  • แบบไช้แสง (Optical Mouse)
  • แบบไร้สาย (Wireless Mouse)

แบบไช้แสง (Optical Mouse)
แบบไช้แสง (Optical Mouse)
 แบบไร้สาย (Wireless Mouse)


1.2 คีย์บอร์ด (Keyboard) คือ อุปกรณ์แป้นพิมพ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ มีปุ่มเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีดเป็นอุปกรณ์ที่มีในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จำนวนปุ่ม 101 ปุ่มขึ้นไป ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้องหรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้

ประเภทของ Keyboard มีอยู่ 5 แบบ ได้แก่


  • desktop keyboard เป็นคีย์บอร์ดมาตรฐานแบบ 101 ปุ่ม
  • desktop keyboard เป็นคีย์บอร์ดแบบที่มีปุ่มพิเศษเพิ่มเข้ามามากกว่าแบบมาตรฐาน
  • wireless  keyboard เป็นคีย์บอร์ดแบบไร้สายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางการเชื่อมต่อไร้สาย
  • security  keyboard เป็นคีย์บอร์ดมีระบบรักษาความปลอดภัย
  • notebook  keyboard เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็กและบาง




security  keyboard เป็นคีย์บอร์ดมีระบบรักษาความปลอดภัย


notebook  keyboard เป็นคีย์บอร์ดขนาดเล็กและบาง
                         desktop keyboard
 เป็นคีย์บอร์ดมาตรฐานแบบ 101 ปุ่ม
desktop keyboard
 เป็นคีย์บอร์ดแบบที่มีปุ่มพิเศษเพิ่มเข้ามา
มากกว่าแบบมาตรฐาน





                
wireless  keyboard
เป็นคีย์บอร์ดแบบไร้สายเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางการเชื่อมต่อไร้สาย





1.3 ปากกาสไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลลักษณะคล้ายๆกับปากกาลูกลื่น แต่เป็นปากกาอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส Touch Screen ของเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ ปาล์มคอมพิวเตอร์เครื่องพีดีเอ





1.4 เครื่องสแกนเนอร์หรือสแกนภาพ (Imege Scanners) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สำหรับ สแกนภาพ หรือ เอกสารต่างๆ โดยสแกนเนอร์แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ สแกนเนอร์แบบมือถือ และ สแกนเนอร์แบบแท่นนอน สแกนเนอร์ดึงกระดาษ




แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)
แบบแท่นนอน (flatbed scanner)


แบบมือถือ (Hand-held scanner)


1.5 กล้องดิจิตอล (Digital Cameras) กล้องดิจิตอลมีลักษณะการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายรูปที่ใช้ฟิล์ม แตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลไม่ต้องใช้ฟิลม์สามารถเก็บบันทึกภาพได้จำนวนมาก สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง และมีขีดจำกัดตรงที่ระยะเวลาในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวยังไม่มากเท่าที่ควร









2.หน่วยประมวลผล (Processor) เป็นอุปกรณืที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ได้รับเข้ามาจากอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้นในการประมวลผลทางด้านกราฟิก จึงทำให้สิ่งที่แสดงผลออกมารวดเร็วโดยซีพยูหรือโปรเซสเซอร์สามารถแบ่งตามสถาปัตยกรรมได้ 2 ชนิดด้วยกัน คือ แบบ CISC และซีพียูแบบ RISC

2.1 CPU ย่อมากจาก (Cental Processing Unit) เป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ ้เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในตัว CPU จะประกอบด้วยการทำงานในหน่วยควบคุมกับหน่วยคำนวณและตรรกะ โดยมีหน่วยควบคุมที่จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แสดงผลลัพธ์ทางหน้าจอภาพ พิมพ์งานทางเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2.1.1 ซีพียู CISC (Complex Instruction Set Computing) ประมวลผลในด้านการฟิกอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับดี แต่จะขึ้นอยู่กับซีพียู และหน่วยแสดงผล






2.1.2 ซีพียู RISC (Reduced Instruction Set Computing) การทำงานด้านกราฟิกพื้นฐาน และคำสั่งที่เรียกใช้ประจำ ซีพียู RISC มีการเพิ่มชุดคำสั่งเฉพาะงาน







2.2 RAM ย่อมากจาก (Random Access Memory) แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
  • Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลที่จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
  • Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
  • Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้
  • Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ใช้ต้องการส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฎิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ถึงคำสั่งจากส่วนนี้ไปทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย












2.3 ROM ย่อมาจาก (Read-Only Memory) สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่
  • PROM (Programmable ROM) เป็นหน่วยความจำที่สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นโปรแกรมที่ถูกบันทึกมาจากโรงงาน หรือมาจากผู้ผลิตโดยตรงนั้นเอง
  • EPROM (Erasable Alterable ROM) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบข้อมูลหรือโปรแกรมใหม่ได้ หน่วยความจำนี้แบ่งย่อยได้ 2 ประเภท คือ UV PROM และ EE PROM
  • EAROM  (Electrically Alterable ROM) เป็นหน่วยความจำอ่านและลบข้อมูลโปรแกรมได้ด้วยการใช้ไฟฟ้าในการลบ



3.อุปกรณ์แสดงผล (Output devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลหลังจากผ่านการประมวลผลแล้ว

3.1 จอภาพ (Monitor) จอภาพถือเป็นหน่วยแสดงผลได้รับความนิยมที่สามารถแสดงผลได้ทั้งอักษร รูปภาพ และ กราฟิก จอภาพมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น
จอภาพซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT Monitors) 
จอภาพแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD Monitors)
จอแสดงผลแบบ LED ( Light-emitting-diod)







จอภาพซีอาร์ที
(Cathode Ray Tube : CRT Monitors) 






จอแสดงผลแบบ LED ( Light-emitting-diod)






จอภาพแอลซีดี
 (Liquid Crystal Display : LCD Monitors)

3.2 เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็น อุปกรณ์เอาต์พุตมาตรฐานที่ใช้สำหรับพิมพ์ข้อมูล สารสนเทศ รูปภาพ กราฟิก ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ได้พัฒนามากขึ้น ในเรื่องของความเร็วในการพิมพ์ สีสันที่คมชัดขึ้น เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
  • เครื่องพิมพ์แบบดอทแมทริกซ์ (Dot Matrix Printers)

  • เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink-Jet Printers)

  • เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printers) 



ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า โปรแกรม ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ

 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer ) หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
  •  OS (Operating System) คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด 
  •  DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก 
  • UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว
  • WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทนMS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกั
  •   OS/2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน


2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร



2.1 ซอฟต์แวร์ใช้เฉพาะทาง
     เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาสำหรับนำไปใช้งานเฉพาะด้าน หรือในสาขาใดสาขาหนึ่งตามความต้องการของผู้ใช้ โดยที่ผู้เขียนคือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
  •   ซอฟต์แวร์ระบบงานด้านบัญชี ได้แก่ ระบบงานบัญชีเจ้าหนี้ บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาสะสม บัญชีแยกประเภททั่วไป และบัญชีเงินเดือน
  •  ซอฟต์แวร์ระบบงานจัดจำหน่าย ได้แก่ ระบบงานรับใบสั่งซื้อสินค้า ระบบงานบริหารสินค้าคงคลังและระบบงานประวัติการขาย
  •  ซอฟต์แวร์ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ ระบบงานกำหนดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ การวางแผนกำลังการผลิต การคำนวณต้นทุนของงาน การประเมินผลงานของพนักงาน การวางแผนการผลิตหลัก การวางแผนความต้องการวัสดุ การควบคุมการทำงานภายในโรงงาน การกำหนดเงินทุนมาตรฐานสินค้าและการกำหนดขั้นตอนการผลิต
  •   ซอฟต์แวร์อื่นๆ ได้แก่ ระบบการสร้างรายงาน การบริหารการเงิน การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ และการเช่าซื้อรถยนต์
3.ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป คือ โปรแกรมที่มีผู้เขียนได้เขียนไว้เรียบร้อยแล้ว โปรแกรมสำเร็จรูปจะให้ความสะดวกในการใช้งานมาก โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนักเพียงแต่เรียนรู้วิธีการใช้งาน

ด้านกราฟิก
  • Photshop
  • Page Make
  • Adobe lllustator cc
  • Adone Plash Professional Sc6



ด้านเอกสาร
  • AmiPro
  • Microsoft Word
  • Microsoft Excel




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น