เทคโนโลยีฐานข้อมูล(Database Technology)

ทคโนโลยีฐานข้อมูล(Database Technology)


คลังข้อมูล (Data Warehose)
           เป็นแหล่งที่จัดเก็บหรือเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานขององค์การให้กับผู้ใช้ที่เกี่ยงข้อง โดยข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความสอดคล้อง และสามารถแบ่งแยกหรือนำรวมกันด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดั้งนั้น คลังข้อมูลจึงมีความหมายรวมถึงชุดเครื่องมือหรือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้สอบถาม วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศที่คำนึงถึงข้อมูลในคลังข้อมูลจัดเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานขององค์การ

ประโยชน์ของคลังข้อมูล
           -ช่วยเพิ่มความรู้ให้กับผู้บริหาร  เนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลที่มาจากหน่วยงานทั้งภายในภายนอกองค์การ ดังนั้นจึงทำให้ผู้บริหารมีความรอบรู้ลูตากว้างไกลมากขึ้น
           -ช่วยเพิ่มศักยภาพในด้านการแข่งขันกับองค์การ การที่องค์การมีข้อมูลที่หลากหลายและเนื่องมาจากแหล่งที่มาต่างๆทำให้องค์การสามารถทราบถึงสถานภาพในการดำเนินธุรกิจของตนเองและของคู่แข่งได้เป็นอย่างดีสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงหรือกำหนดกลยุทธ์กับการแข่งขันให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี
         -ช่วยเพิ่มความสามารถและศักยภาพด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ถูกรวบรวมและจัดเก็บในคลังข้อมูล ซึ่งนำมาวิเคราะห์สภาพให้บริการแต่ละช่วงเวลาได้
        -สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจให้กับบริหารขององค์การ การตัดสินใจที่ถูกต้องและเหมาะสมจำเป็นต้องมีข้อมูลประกอบเสมอ การสร้างคลังข้อมูลช่วยห้ผู้บรหารสามารถรียกใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
       -ทำให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่นและคล่องตัวมากขึ้น ไม่เพียงแต่การตัดสินใจเท่านั้นที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล แต่การดำเนินงานใดๆ ขององค์การล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น ดังนั้นการสร้างคลังข้อมูลจึงช่วยสนับสนุนในการดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างราบรื่นและเกิดความคล่องตัว
      -เพิ่มผลผลิตให้กับพนักงานที่ต้องการใช้ความรู้ การใช้คลังข้อมูลจะช่วยเพิ่มผลลิตให้กับพนักงานที่ต้องทำงานโดยใช้ความรู้ ทั้งนี้เนื่องจากพนักงานดังกล่าวสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่จำเป็นต้องการปฏิบัติงานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น


องค์ประกอบของ Data Warehouse
  1. ฐานข้อมูลเชิงกายภาพขนาดใหญ่
  2. คลังข้อมูลเชิงตรรกะ
  3. Data martคือ  ข้อมูลย่อยที่แยกออกจากข้อมูลที่อยู่ใน Data  Warehouse  เพื่อนำไปใช้สนับสนุน(support)  การทำงานของแต่ละแผนก
  1. ระบบ DSS และระบบ EIS
ลักษณะของ  Data Warehous  ประกอบด้วย
  1. Subject-Oriented คือ การจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นหลัก  ขององค์กร เช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลสินค้า หรือข้อมุลยอดขาย
  2. Integrated คือ การจัดข้อมูลต่างรูปแบบ (Format)  ให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน  สร้างความสอดคล้องของข้อมูลก่อนการนำเสนอ
  3. Time-valiant คือ การเก็บข้อมูลไว้ในคลังเพื่อใช้งานในระยะเวลายาว  เช่น 5-10 ปีข้างหน้า  เพื่อทำนายแนวโน้มหรือเปรียบเทียบค่าของข้อมูลในแต่ละปี   ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องอยู่เสมอ
  4. None-Volatile คือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากคลังที่ไปดึงมา  ข้อมูลในคลังจะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในทันที  แต่จะเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
ข้อดีของ Data Warehouse  ความคุ้มค่าของสารสนเทศที่อยู่ในคลังข้อมูล  ส่งผลดีต่อองค์กร ดังนี้
  1. ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง
  2. เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ข้อเสียของ Data Warehouse
        1.การกรองข้อมูลและเรียก (load) ข้อมูลเข้าสู่คลังใช้เวลานา
       2.แนวโน้มความต้องการข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลต่อพื้นที่ในการจัดเก็บ
       3.ใช้เวลาในการพัฒนาคลังข้อมูลนาน
       4.ระบบคลังข้อมูลมีความซับซ้อน ต้องใช้ความสามารถของบุคคล และเทคนิคสูง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น